ความคืบหน้าการนำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (ฉบับที่ ๗)
จดหมายข่าว
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารขึ้นบัญชีสู่มรดกโลก
ฉบับที่ ๗ ประจำวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สืบเนื่องจากการศึกษาค้นคว้าและเปรียบเทียบเรื่อง “สถูปเจดีย์ใหญ่” ในประเทศไทย ซึ่งมีสถานะเป็น “พระมหาธาตุประจำเมือง” คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ ในคณะกรรมากรนำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกได้พบว่า เจดีย์ในประเทศไทยที่สร้างขึ้นก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ (ก่อนพ.ศ.๑๘๐๐) และมีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าเป็น “พระมหาธาตุประจำเมือง”นั้นมีจำนวน ๕ แห่ง ประกอบด้วยพระธมเจดีย์ (พระปฐมเจดีย์ในปัจจุบัน) จังหวัดนครปฐม, พระธาตุลพบุรี จังหวัดลพบุรี และพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
เฉพาะพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชซึ่งสร้างเป็นสถูปทรงลังกา (ทรงระฆังคว่ำ) ดังที่เห็นในปัจจุบัน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๗๑๙ ในสมัยพระเจ้าศีรธรรมโศกราชเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์(ศรีธรรมราช) เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกาที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถูปสำคัญในศรีลังกา สมัยโปลนนารุวะ โดยเฉพาะสถูปเวเหระและสถูปอุทุมพรคีรี รวมถึงศาสนาสถานประเภท “จันทิ” ในชวาภาคกลาง ที่เป็นต้นเค้าของพระบรมธาตุไชยา โดยมีข้อสังเกตที่น่าสนใจ ๒ ประการคือ
๑.ฐานประทักษิณ เป็นฐานยกสูงในผังสี่เหลี่ยมที่มีการสร้างบันไดทางขึ้นที่ค่อนข้างแคบและสูงชันไว้ทางทิศทางทิศเหนือ ลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะของสถูปขนาดเล็กที่สร้างขึ้นในสมัยหลัง โดยมีต้นแบบสำคัญคือสถูปอุทุมพรคีรี นอกจากนั้นเรือนธาตุของพระบรมธาตุยังเป็นทรงระฆังอันเป็นทรงทีพบในสถูปขนาดเล็กที่สร้างขึ้นในสมัยหลัง โดยมีต้นแบบสำคัญคือสถูปอุทุพรคีรี นอกนั้นเรือนธาตุของพระบรมธาตุยังเป็นทรงระฆังอันเป็นทรงที่พบในสถูปขนาดเล็กของลังกา โดยเฉพาะสถูปกิริเวหะที่ถือว่ามีขนาดและสัดส่วนใกล้เคียงกันมาก ทั้งนี้ชุดฐานรองรังองค์ระฆังนั้นเป็นชุดบัวที่มีลูกแก้วคั่นตรงกลางซ้อนกัน แต่การก่อฐานยังเป็นสถูปกลีบบัวอย่างชัดเจนสามชั้น ลักษณะเช่นนี้ปรากฏอยู่บนองค์ระฆังของสถูปอุทุมพรคีรี ซึ่งเทคนิคนี้ต่อมาได้แพร่หลายไปยังเจดีย์ทรงระฆังในสุโขทัย
๒. องค์ประกอบส่วนยอด ได้ถอดแบบมาจากสถูปลังกาแทบทุกประการ มาว่าจะเป็น “จัตุรัสโฏฏฐะ” หรือบัลลังก์ รวมถึง “เทวะตาโกตุระ” หรือเสาหานเหนือบัลลังก์จำนวนแปดตันที่มีการประดับปูนปั้นรูป “พระเวียน” อันหมายถึงพระสาวกเดินประนมมือในอิริยาบถคล้ายกับการเดินประทักษิณหรืออิริยาบถลีลาในศิลปะสุโขทัย ซึ่งถือเป็นพัฒนาการจากสถูปสมัยโปลนนารุวะที่ทำเป็นรูปเทวดายืนประนมมือ
องค์ประกอบส่วนฐาน (ฐานประทักษิณ) และองค์ประกอบส่วนยอด ถือได้ว่าเป็นการถอดถ่ายแบบมาจากศรีลังกาโดยตรง เท่ากันเป็นขยายศรัทธาที่มีต่อพระพุทะศาสนาสายใหม่ (คือเถรวาทลังกาวงศ์) มายังดินแดนคาบสมุทรไทย โดยมี “นครศรีธรรมราช” เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่ และต่อมามานานพุทธศาสนาสายนี้ก็ขยายไปยัง “สุโขทัย” อย่างรวดเร็ว
ผ.ศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์
ประธานกรรมการฝ่ายวิชาการ
รายงาน