ความคืบหน้าการนำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (ฉบับที่ ๖)

จดหมายข่าว
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารขึ้นบัญชีสู่มรดกโลก
ฉบับที่ ๖ ประจำวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙

 

นำเสนอวัสดุแบบโบราณมาใช้ในบูรณะพระธาตุเจดีย์

ตามที่กรมศิลปากรโดยสำนักศิลปากรที่ ๑๔ นครศรีธรรมราชได้จ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดบูรณาไทเป็นผู้ดำเนินการบูณะองค์พระบรมองค์พระบรมธาตุเจดีย์  วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร  ด้วยงบประมาณแผ่นดินประจำปี ๒๕๕๙ และขณะนี้ได้ดำเนินงายบูรณะไปถึงงวดที่ ๒ (ในจำนวน ๓ งวด) ดังความทราบแล้วนั้น

มีรายงานข่าวจากฝ่ายวิชาการของคณะกรรมการนำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร  จังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแจ้งว่า  คณะกรรมการฯได้ปรับแก้และเพิ่มเติมต้นฉบับ Nomition Dossier บทว่าด้วย ”ความแท้” (Authenticity) ขององค์พระบรมธาตุเจดีย์เข้าไปอีกส่วนหนึ่ง คือการเลือกใช้วัสดุ “ปูนหมักและปูนตำ”  ซึ่งเป็นวัสดุสูตรโบราณที่กรมศิลปากรและหุ้นส่วนจำกัดบูรณาไทกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ โดยจะนำเสนอไว้ในเอกสารดังกล่าว เพราะถือว่าเป็น “ข้อเด่น”  ของการบูรณะองค์พระบรมธาตุองค์นี้ ที่ยังรักษาความเป็นขนานแท้ดั้งเดิมไว้ได้อยู่จนปัจจุบัน

“ปูนหมักและปูนตำ” เป็นวัสดุก่อสร้างปูชนียสถานที่มีมาแต่โบราณ ไม่ทราบชัดว่าช่างเมืองนครได้รับความรู้การผลิตปูนดังกล่าวมาจากที่ใด  ระหว่างอินเดียกับจีน  ในการบูรณะครั้งนี้ใช้ปูนตำสำหรับฉาบผิวชั้นนอกสุดขององค์เจดีย์  เป็นปูนตำสูตรโบราณซึ่งใช้ปูนเหนียวชนิดละเอียดมาปั้นเป็นก้อนกลม  ตากให้พอแห้ง  แล้วเตรียมกระดาษสาหรือกระดาษฟางแช่น้ำให้เปื่อยยุ่ย  เพื่อนำไปผสมกับปูนเหนียว  กระดาษจะทำให้เนื้อปูนจับตัวกันได้ดีขึ้น  จากนั้นจึงนำเยื่อกระดาษมาผสมกับปูนเหนียวแห้งใส่ครกแล้วตำให้เข้ากันโดยไม้ตำและต้องตำอย่างสม่ำเสมอ จนเยื่อกระดาษเปื่อยมาผสมกับเนื้อปูนสนิท  เรียกว่า “เรียกว่า”  จากนั้นจึงนำปูนตำมาใส่ถุงพลาสติกรัดให้แน่นไม่ให้อากาศเข้า  แช่ไว้ในถังน้ำเพื่อหมักเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒ สัปดาห์ก่อนนำมาใช้ เรียกว่า“ปูนหมัก”

ผิวองค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชที่ชำรุดโป่งพองและกะเทาะหลุดร่อน  ช่างทำการซ่อมสกัดส่วนที่ชำรุดออก  แล้วแบตกแต่งด้วยปูนหมัก  ขณะเดียวกันก็ได้ทำการสกัดผิวปูนหมักองค์เจดีย์เป็นจุดๆ โดยตลอดพื้นผิว  เพื่อให้ปูนหมักสามารถยึดเกาะได้อย่างมั่นคงแข็งแรง  จากนั้นจึงทำการขัดตกแต่งผิวด้วยปูนตำตามกรรมวิธีแบบโบราณ  ทั้งนี้จะมีการผสมผงสีฝุ่นเพื่อลดความขาวของปูนตำด้วย

ปูนหมักปูนตำเป็นงานที่ทำยากเพราะแข็งตัวช้า  หากจะเร่งให้ปูนแข็งตัวต้องใสน้ำตาล  หรือน้ำอ้อยแต่หากใสมากไปก็จะทำให้สีปูนฉาบเป็นลายด่าง  และใช้เวลานานกว่ารอยด่างจะหายไป  การเร่งให้ปูนแข็งตัวบางจุด   ช่างปัจจุบันจึงใช้น้ำคาร์บอเนต (น้ำโซดา) พ่นเป็นละอองใสผนังแทน  แต่เสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น

เหตุนี้ฝ่ายวิชาการจึงได้บันทึกเรื่องนี้เพิ่มเติมเข้าไปในเอกสาร  Nomination  Dossier  เพื่อแสดง“ความแท้ของวัสดุ” พระบรมเจดีย์นครศรีธรรมราช

ผ.ศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์
ประธานกรรมการฝ่ายวิชาการ
รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *