ความคืบหน้าการนำเสนอวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (ฉบับที่ ๒)
จดหมายข่าว
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารขึ้นบัญชีสู่มรดกโลก
ฉบับที่ ๒ ประจำวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
เมื่อวันที่ ๑๐-๑๑ สิงหาคม ที่ผ่านมา ดร.อรมา ศรีสุชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิของกรมศิลปากร ซึ่งเป็นผู้แทนประเทศไทยไปประชุมกรรมการของศูนย์มรดกโลก ครั้งที่ ๔๐ ที่กรุงแองกรารา ประเทศตุรกี เมื่อวันที่ ๑๐-๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ได้เดินทางมาประชุมร่วมกับคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ ในคณะกรรมการวัดพระธาตุวรมหาวิหาร เพื่อขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก ณ ห้องประชุมพุทธสมาคมนครศรีธรรมราชในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยมีคณะกรรมการฝ่ายวิชาการเข้ารับฟังข้อเสนอแนะจำนวน ๒๕ คน
ดร.อรมา ศรีสุชาติ เล่าว่า ระหว่างพักการประชุมกรรมการมรดกโลกที่ประเทศตุรกี ได้พบปะกับกรรมการอีโคโมสสากลบางท่านซึ่งมีความรู้จักมักคุ้นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในประเทศไทย ได้ให้ข้อเสนอว่ากรณีวัดวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำเอกสารสมบูรณ์ (Nomination Dossier) นอกจากจะนำเสนอเรื่องความโดดเด่นเป็นสากล(ตามเกณฑ์ยูเนสโก ข้อ ๒ ข้อ ๔ ข้อ ๖) แล้ว ควรเพิ่มรายละเอียดในเรื่องการอนุรักษ์หรือบูรณะพระมหาธาตุ ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ยังรักษาเทคนิควิธีดั้งเดิมไว้ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นภูมิปัญญาการอนุรักษ์ยังรักษาสืบมา เช่นการการใช้ปูนตำในการบูรณะพระธาตุเจดีย์ การใช้ทองคำแท้มาหุ้มปลียอด เป็นต้น ถือเป็นภูมิปัญญาการอนุรักษ์ที่โดดเด่น เละเป็นจุดแข็งของการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม แต่ต้องอาศัยผลการวิเคราะห์วัสดุเดิมมาเป็นเครื่องยืนยันว่ารักษาสภาพความเป็นดั้งเดิมมาเป็นเครื่องยืนยันว่ายังรักษาสภาพความเป็นดั้งเดิม จึงขอนำเสนอให้ชัดเจน โดยอธิบายหรือพรรณนาพร้อมนำผลการวิเคราะห์วัสดุที่ใช้หลักทางวิทยาศาสตร์มาแนบด้วย
ดร.อรมา ศรีสุชาติ ยังกล่าวว่าเพิ่มเติมอีโคโมสขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาดำเนินโครงการหรือกิจกรรมสำคัญ อีก สองอย่างในการนำเสนอแหล่งมรดกโลก อย่างแรกคือการจัดประชุมสัมนานานาชาติเพื่อระดมความคิดเห็นด้านการอนุรักษ์ และขยายผลทางวิชาการในเรื่องพระมหาธาตุเจดีย์ให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล อย่างที่สองคือการจัดการเรียนรู้แก่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อแสดงความมั่นใจว่าจะรองรับการเป็นมรดกโลกได้ หากได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว ชุมชนจะมีส่วนรับผิดชอบดูแลพิทักษ์รักษาอย่างจริงจังอย่างไร
จากการหารือครั้งนี้ ทราบว่าคณะกรรมการอีโคโมสสากลยินดีให้ความร่วมมือกับกรมศิลปากรและจังหวัดนครศรีธรรมราช พัฒนาเอกสารมรดกโลกตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ซึ่งเรื่องนี้กรมศิลปากรจะนำเสนอในคราวประชุมกรมหลังการประชุมมรดกโลกครั่งที่ ๔๐ ที่กรุงปารีสในเดือนตุลาคม ๒๕๕๙ นี้
ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์
ประกรรมการฝ่ายวิชาการ
รายงาน